Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ข้อสอบโอลิมปิก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #136  
Old 01 มกราคม 2012, 16:12
จูกัดเหลียง's Avatar
จูกัดเหลียง จูกัดเหลียง ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 1,234
จูกัดเหลียง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ BLACK-Dragon View Post
$\dfrac{1}{c} \geq \dfrac{1}{b} \geq \dfrac{1}{a}$ ก็จะได้ $ab \geq bc \geq ca$ ครับ
$\times abc$ ตลอดเหรอครับ ปล.พึ่งรู้ว่าCheby ไม่ต้องเป็นบอก = =
__________________
Vouloir c'est pouvoir
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #137  
Old 01 มกราคม 2012, 16:39
BLACK-Dragon's Avatar
BLACK-Dragon BLACK-Dragon ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 719
BLACK-Dragon is on a distinguished road
Icon20

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ จูกัดเหลียง View Post
$\times abc$ ตลอดเหรอครับ ปล.พึ่งรู้ว่าCheby ไม่ต้องเป็นบอก = =
ใช่แล้วครับ เรขาใบ้หน่อยได้ไหมครับยากเว่อร์เลย

ปล. Cauchy ก็เหมือนกันครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #138  
Old 01 มกราคม 2012, 17:26
จูกัดเหลียง's Avatar
จูกัดเหลียง จูกัดเหลียง ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 1,234
จูกัดเหลียง is on a distinguished road
Default

ลองคูณดีๆดิครับ = = ส่วนเรขาผมวาดรูปเเล้วงงมากอ่ะครับ
__________________
Vouloir c'est pouvoir
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #139  
Old 01 มกราคม 2012, 18:21
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ BLACK-Dragon View Post
$\dfrac{1}{c} \geq \dfrac{1}{b} \geq \dfrac{1}{a}$ ก็จะได้ $ab \geq bc \geq ca$ ครับ
ทดเลขผิดหรือเปล่าครับเนี่ย ลองเช็คอีกที
------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนข้อเรขาคณิต ผมว่า วาดรูปไม่ยากนะครับ

ใจความของโจทย์ คือ incircle สัมผัส AB ที่ Q

ต่อมา ลากเส้นขนานกับ CQ และผ่าน incenter โดยเส้นนี้ตัด AB ที่ T

จาก T ลากเส้นตรงมาสัมผัส incircle ที่ $K \neq Q$ และเส้นสัมผัสดังกล่าวตัดเส้นตรง AC, BC ที่ L,N ตามลำดับ

พิสูจน์ $TL=TN$

Big Hint : ข้อนี้ ครึ่งหลังมันจบแบบสั้นๆด้วย well-known lemma ที่เคยใช้ใน TMO ครั้งที่ 6 ครับ และ incircle ของสามเหลี่ยม ABC เป็น incircle ของ.....

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับวิธีทำ อสมการข้อ 2 อีกแบบ

สังเกตว่า $$ \frac{2}{4-\sqrt{ab}} = 1- \frac{2-\sqrt{ab}}{4-\sqrt{ab}}= 1- \frac{4-ab}{(2+\sqrt{ab})(4-\sqrt{ab})} \leq 1 -\frac{4-ab}{9} $$

อสมการก้อนหลังสุดที่มาจบที่ 9 สมมูลกับ $ (\sqrt{ab}-1)^2 \geq 0 $

ที่เหลือ take sigma แล้วอ้าง $ab+bc+ca \leq 3 $ ก็จบครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว

01 มกราคม 2012 18:30 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ passer-by
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #140  
Old 02 มกราคม 2012, 03:00
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

ข้อ geo โหดจัง

ใช้ homothety หรือเปล่าครับ???
__________________
keep your way.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #141  
Old 02 มกราคม 2012, 06:24
Amankris's Avatar
Amankris Amankris ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,492
Amankris is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ passer-by View Post
4. (Copied from สสวท. OCT 2011) สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ABC มีวงกลมแนบใน(จุด ศก. I) สัมผัส AB ที่ Q ,ลาก IT ขนานกับ CQ โดย T อยู่บน AB , TK สัมผัสวงกลมแนบในดังกล่าวที่ K (คนละจุดกับ Q) และตัด AC,BC ที่ L,N ตามลำดับ พิสูจน์ TL =TN
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #142  
Old 02 มกราคม 2012, 07:36
จูกัดเหลียง's Avatar
จูกัดเหลียง จูกัดเหลียง ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 1,234
จูกัดเหลียง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ passer-by View Post
Combinatorics
7. p(n) แทนจำนวน partition ของ n (เช่น 4 แบ่งเป็น 4, 1+3 , 2+2 ,1+1+2 ,1+1+1+1 แสดงว่า p(4)=5)
พิสูจน์ว่า มีจำนวนจริง c>0 ที่ $$ p(n) \geq c \cdot 2^{\left\lfloor\ \sqrt{n}\right\rfloor}$$
พิจารณาถ้า $n$ เป็นเลขคู่ให้ $n=2k$ สำหรับ $k\in\mathbb{N}$
จะได้ว่า $p(n)=k^2+1$ อันนี้ค่อนข้างชัวร์ครับ (สังเกตมาเหมือนเดิม )
พิจารณา โดย Discreminant $$k^2+1=p(n)\ge c\cdot 2^{[\sqrt{n}]}\leftrightarrow c\le \frac{1}{2^{[\sqrt{n}]}}$$
เห็นได้ชัดว่า มี $c>0$ เเน่ๆ
ทำนองเดียวกันหากพิจารณา $p(n)$ เมื่อ $n$ เป็นเลขคี่ ให้ $n=2k+1$ สำหรับ $k\in\mathbb{N}$
จะได้ว่า $p(n)=k^2+k+1$ เเล้วลงล็อคเดิมครับ
ปล.เรขาก็ยังอึนเหมือนเดิม
ปล.2 ตอนเเรกผมคิดว่ามันจะเป็นลำดับฟีโบนักชีจริงๆซะอีกอ่ะนะ
__________________
Vouloir c'est pouvoir

02 มกราคม 2012 08:28 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ จูกัดเหลียง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #143  
Old 02 มกราคม 2012, 07:45
Amankris's Avatar
Amankris Amankris ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,492
Amankris is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ จูกัดเหลียง View Post
โดย Lemma (prove เองนะครับ) $$1+[\sqrt{k-1}]=[1+\sqrt{k-1}]=[\sqrt{k+1}]$$
มันจริงแน่หรือครับ -_-"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #144  
Old 02 มกราคม 2012, 08:19
จูกัดเหลียง's Avatar
จูกัดเหลียง จูกัดเหลียง ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 1,234
จูกัดเหลียง is on a distinguished road
Default

ขอโทษครับ ( เบลอได้อีกอ่ะ = =" ) เเก้เเล้วครับ
จริงๆผมว่ามันเเปลกๆอ่ะเเหละ เลยลองคิดใหม่ ( ตอนเล่นเกม )
__________________
Vouloir c'est pouvoir

02 มกราคม 2012 08:29 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ จูกัดเหลียง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #145  
Old 02 มกราคม 2012, 14:00
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ จูกัดเหลียง View Post
พิจารณาถ้า $n$ เป็นเลขคู่ให้ $n=2k$ สำหรับ $k\in\mathbb{N}$
จะได้ว่า $p(n)=k^2+1$ อันนี้ค่อนข้างชัวร์ครับ
ผมยืนยันว่า ไม่จริงครับ เช่น

p(6) = 11 เพราะมี 6, 1+5 ,4+2 ,3+3, 1+2+3, 2+2+2, 1+1+4,1+1+1+3, 1+2+1+2, 1+1+1+1+2,1+1+1+1+1+1
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #146  
Old 02 มกราคม 2012, 14:47
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ จูกัดเหลียง View Post
เเทน $x\rightarrow 2x,y\rightarrow \frac{3}{2}$ $$f(2x)-f(\frac{3}{2})=\Big(\frac{3-x}{2}\Big)f(3x)...(1)$$
เเทน $y\rightarrow 2$ $$f(x)-f(2)=(2-x)f(2x)...(2)$$
เเทน $y\rightarrow 3$ $$f(x)-f(3)=(3-x)f(3x)...(3)$$
จาก $(1),(2),(3)$ จับยัดให้เป็นค่าคงที่ให้หมด(ขั้นนี้ลองทดเองนะครับ เพราะผมว่ามันเละมาก )
ได้ว่า $f(x)=c+\frac{k}{x}$ เเล้วนำไปเเทนใน $(1)$ หรือ $(2)$ หรือ $(3)$
ก็จะได้ต่อว่า $c=0,k=0,1$ ดังนั้น $f(x)=0,\frac{1}{x}$
ผมว่าแทนแบบนี้มันแปลกๆอยู่นะครับ

เพราะมันจะบอกได้แค่ว่าคำตอบนั้น เป็นจริงสำหรับทุก $x \in (1,\infty)-\{2,3\}$ จากที่โจทย์บอกว่าสำหรับ $x\not= y$
__________________
keep your way.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #147  
Old 02 มกราคม 2012, 18:40
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

ลองทำดูแล้วไม่ยากนะครับ มายากตรงจัดรูปเนี่ยแหละ (ใช้ wolfram ช่วยแยกแฟคเตอร์ )

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ passer-by View Post
Functional Equation

5. หาฟังก์ชัน $ f: (1, \infty) \rightarrow \mathbb{R}$ ทั้งหมดที่สอดคล้องกับ

$ f(x)-f(y) = (y-x)f(xy) \,\, \forall x,y >1 \,\, ,x \neq y $
วิธีทำที่ดีคือ ต้องแทนค่าที่ไม่ทำให้เกิดกรณีที่ $x=y$ นั่นคือแทนด้วยตัวแปร

Claim 1 : $f(x^2)=\dfrac{f(x)}{x}$

เพราะ $x^m=x^n$ ไม่มีคำตอบสำหรับจำนวนนับ $m \not= n$ ในช่วง $x \in (1,\infty)$ เสมอ

จากสมการที่กำหนดให้จะได้
$$f(x^2)-f(x^3)=(x^3-x^2)f(x^5)$$
$$f(x)-f(x^4)=(x^4-x)f(x^5)$$
ตัด $f(x^5)$ โดยการแทนลงไปได้ $$[x^4-x][f(x^2)-f(x^3)]=[x^3-x^2][f(x)-f(x^4)]$$
แทนกลับลงไปโดยการเปลี่ยน $f(x^3),f(x^4)$ ให้อยู่ในรูปของ $f(x),f(x^2)$

กล่าวคือ $f(x^4)=\dfrac{f(x)-f(x^3)}{x^3-x}$ ต่อด้วย $f(x^3)=\dfrac{f(x)-f(x^2)}{x^2-x}$ แล้วจัดรูปได้
$$f(x^2)=\frac{f(x)}{x}$$
ซึ่งสมการนี้เป็นจริงสำหรับ $x \in (1, \infty )$ ใดๆ

Claim 2 : $f(x)=\dfrac{a}{x}$ เมื่อ $a \in \mathbb{R}$

พิจารณา
$$f(x^2 \cdot y^2)=\frac{f(x^2)-f(y^2)}{y^2-x^2}=\frac{yf(x)-xf(y)}{xy(y^2-x^2)}$$
$$f((xy)^2)=\frac{f(xy)}{xy}=\frac{f(x)-f(y)}{xy(y-x)}$$
ดังนั้น
$$yf(x)-xf(y)=(x+y)f(x)-(x+y)f(y)$$
จัดรูปเป็น $xf(x)=yf(y)$ ซึ่งเป็นจริงสำหรับ $x \not= y$ ใดๆ

ดังนั้น $xf(x)$ เป็นค่าคงที่ ได้คำตอบเป็น $f(x)=\dfrac{a}{x}$ สำหรับ $a \in \mathbb{R}$ #
__________________
keep your way.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #148  
Old 02 มกราคม 2012, 18:42
จูกัดเหลียง's Avatar
จูกัดเหลียง จูกัดเหลียง ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 1,234
จูกัดเหลียง is on a distinguished road
Default

#145ขอ Hint เลยดีกว่าครับ = =
เเต่พอลองจินตนาการเล่นๆเเลว ถ้า $n=2k$ จะได้
$$p(n)=k^2+n-\phi(n)-1$$
หรือเปล่าครับ

#146 ผมไม่รู้จะเเทนอะไรเเล้วอ่ะครับ
__________________
Vouloir c'est pouvoir
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #149  
Old 02 มกราคม 2012, 19:09
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

Hint ข้อ 7
start บรรทัดแรกให้แล้วกันครับ
For $n \geq 2$ ,พิจารณา จำนวนนับ t ใหญ่สุดที่ $ 1+2+...+t \leq \frac{n}{2}$
----------------------------------------------------------------------------------------------------

เติมโจทย์ให้อีก 2 ข้อ

Plane geometry

9. สี่เหลี่ยมนูน ABCD มี M,N เป็นจุดกึ่งกลาง AB,CD ตามลำดับ ,E เป็นจุดตัดเส้นทแยงมุม พิสูจน์ เส้นแบ่งครึ่งมุม $B\hat{E}C$ ตั้งฉากกับ MN ก็ต่อเมื่อ AC= BD

Inequalities

10. a,b,c >0 พิสูจน์ $$ \sum_{cyc} \sqrt{\frac{a}{a^2+b+4}} \leq \sqrt[4]{\frac{3}{4}(a+b+c)}$$
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #150  
Old 02 มกราคม 2012, 21:04
BLACK-Dragon's Avatar
BLACK-Dragon BLACK-Dragon ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 719
BLACK-Dragon is on a distinguished road
Lightbulb

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ passer-by View Post

Plane geometry

9. สี่เหลี่ยมนูน ABCD มี M,N เป็นจุดกึ่งกลาง AB,CD ตามลำดับ ,E เป็นจุดตัดเส้นทแยงมุม พิสูจน์ เส้นแบ่งครึ่งมุม $B\hat{E}C$ ตั้งฉากกับ MN ก็ต่อเมื่อ AC= BD
Name:  Untitledasd.jpg
Views: 972
Size:  38.4 KB

$BD$ และ $AC$ ตัด $MN$ ที่ $G$ และ $F$ ตามลำดับ

ให้ G เป็นจุดตัดที่ E ลากผ่าน BC

ถ้า $EG \bot MN$ พิจารณา $\bigtriangleup DGN$ และ$\bigtriangleup CFN$ และ โดย law of sine จะได้ว่า $FC=DG$

ในทำนองเดียวกัน $BG=AF$ แล้วนำมาบวกัน เพราะฉะนั้น $AC=BD$

ถ้า $AC=BD$ และ เส้นแบ่งครึ่งมุม $E$ ตัด $MN$ ที่ $H$ พิจารณา

$B \hat{E} H=C\hat{E}H=\alpha $ และ $F\hat{H}E= \beta$ ทำให้ได้ $E\hat{G}F=\beta-\alpha$ และ $G\hat{F}E=180-\alpha-\beta$

$DG \cdot \sin (\beta-\alpha)=FC \cdot \sin(180-\alpha-\beta)$

$AF \cdot \sin (180-\alpha-\beta)= BG \cdot \sin (\beta-\alpha)$

นำมาบวกกันได้ $\beta = 90^{\circ}$

เพราะฉะนั้น $EG \bot MN$

03 มกราคม 2012 20:04 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ BLACK-Dragon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 00:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha