Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 31 มีนาคม 2005, 12:35
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post ลำดับ ?

โจทย์ข้อนี้ผมคิดเองครับ พบโดยบังเอิญ เข้าใจว่าพอจะนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง และผมก็คิดว่ายากมาก สำหรับผมครับ ลองคิดดูนะครับ

ลำดับนี้คือ 0 , 1 , 2 , 9 , 44 , 455 , ...

อืม ตั้งโจทย์ว่า จงหาพจน์ถัดไปครับ อ้อ ถ้าให้ดีเขียนพจน์ทั่วไปด้วยนะครับ
และจะดีมากๆ เมื่อบอกได้ว่า นำไปใช้ทำอะไรครับ
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 31 มีนาคม 2005, 12:59
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Icon16

ขออีกซัก 3-4 พจน์ได้มั้ยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 31 มีนาคม 2005, 13:42
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

ขออภัยอย่างสูงๆๆ .. ครับผม คิดเลขผิด

ลำดับนี้คือ 0 , 1 , 2 , 9 , 44 , 265 , 1854 , ...
ซึ่งผมเห็นแล้วล่ะครับ ว่าลำดับนี้คือ Rn = (n-1)(Rn-1+Rn-2) โดยที่ R1 = 0 และ R2 = 1

ซึ่งที่ผมคิด ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นลำดับนี้อะครับ ยังไงก็ลองมองอีกมุมนึงนะครับ เกี่ยวกับเรื่องความน่าจะเป็น
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$

31 มีนาคม 2005 13:43 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ R-Tummykung de Lamar
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 31 มีนาคม 2005, 14:54
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ๋อ...ลำดับนี้เป็นลำดับคลาสิกเลยครับ เกิดมาจากปัญหาที่ฝรั่งเค้าเรียกว่า "derangement"
ค่า Rn ของน้อง R-Tummykung de Lamar ก็คือจำนวนวิธีที่จะเรียงลำดับของ n สิ่ง
เสียใหม่โดยไม่ให้มีของชิ้นใดกลับมาอยู่ที่เดิมเลย เช่นถ้าเรามีของอยู่ 4 ชิ้นเรียงอยู่เป็น

1234 วิธีที่จะเรียงมันใหม่โดยไม่มีเลขตัวใดกลับมาอยู่ที่เดิมเลยจะมีอยู่ 9 วิธีคือ

2143
3142
4123
2413
3412
4312
2341
3421
4321

ดังนั้น R4 = 9 เป็นต้น

จาก Rn = (n - 1)(Rn-1 + Rn-2) เราสามารถแสดงโดย induction ได้ว่า
Rn = nRn-1 + (-1)n และ\[R_n=
n!\sum_{k=0}^n\frac{(-1)^k}{k}=
n!\left(1-\frac{1}{1!}+\frac{1}{2!}-\frac{1}{3!}+\cdots+
\frac{(-1)^n}{n!}\right)\]และจากคุณสมบัติของ e เราจะได้ว่า\[R_n=
\bigg\lfloor\frac{n!}{e}+
\frac{1}{2}\bigg\rfloor\]นั่นคือ Rn จะมีค่าเท่ากับจำนวนเต็มที่มีค่าใกล้เคียงกับ n!/e มากที่สุดครับ

ในวารสารคณิตศาสตร์ของสมาคมฯ ก็เคยลงเรื่องนี้ไว้ในฉบับ ม.ค. 30
ใครสนใจก็ลองไปหาอ่านในห้องสมุดดูได้ครับ

13 เมษายน 2005 09:49 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 31 มีนาคม 2005, 15:08
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ warut:
และจากคุณสมบัติของ e เราจะได้ว่า\[R_n=
\bigg\lfloor\frac{n!}{e}+
\frac{1}{2}\bigg\rfloor\]นั่นคือ Rn จะมีค่าเท่ากับจำนวนเต็มที่มีค่าใกล้เคียงกับ n!/e มากที่สุดครับ
สุดยอดจริงๆครับ สูตรนี้ ดังนั้นถ้าเรามีโจทย์ว่า
"ถ้าเขียนจดหมาย 10 ฉบับ ถึงเพื่อน 10 คน แล้วลืมดูว่าใส่ซองไหนบ้าง จงหาความน่าจะเป็นที่จะส่งไปผิดทุกคน"
ก็คงไม่ยากแล้วใช่ไหมครับ
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 31 มีนาคม 2005, 15:44
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

ครับ...และให้สังเกตด้วยว่าค่าความน่าจะเป็นที่ได้มีค่าใกล้เคียงกับ 1/e มากๆเลย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 01 เมษายน 2005, 14:24
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

เอ้อ .รบกวนนิดนึงนะครับ
เครื่องหมายนี้ หมายถึง ceiling function ให้สำหรับปัดขึ้น ใช่ไหมครับ

แปลกมาก หรือว่าผมเข้าใจผิด เพราะ ใน UBB Code ใช้ฃื่อสัญลักษณ์นี้ว่า [ :rceil]
แต่ \( \lfloor\ \ \rfloor\) ของ Latex กลับใช้ชื่อสัญลักษณ์นี้ว่า \floor

แต่ของคุณ warut ผมดูความหมายแล้วน่าจะเป็นการปัดลงใช่ไหมครับ
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 01 เมษายน 2005, 15:48
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

สำหรับ ceiling function
UBB ใช้คำสั่ง [ :lceil] และ [ :rceil] ซึ่งจะออกมาเป็น
LaTeX ใช้คำสั่ง \lceil และ \rceil ซึ่งจะออกมาเป็น \(\lceil\,\;\rceil\)

สำหรับ floor function ซึ่งก็คืออันที่ผมใช้
UBB ใช้คำสั่ง [ :lfloor] และ [ :rfloor] ซึ่งจะออกมาเป็น
LaTeX ใช้คำสั่ง \lfloor และ \rfloor ซึ่งจะออกมาเป็น \(\lfloor\,\;\rfloor\)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 16:18


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha